เครื่องหมายการค้า/บริการ คือ เครื่องหมายที่ใช้ หรือจะใช้ กับสินค้าหรือบริการ เพื่อแสดงว่าสินค้าหรือบริการนั้น แตกต่างกับสินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายการค้า/บริการของบุคคลอื่น โดยสิ่งที่สามารถนำมาจดทะเบียนเป็น เครื่องหมายการค้า/บริการนั้น ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ เสียง หรือสิ่งเหล่านี้อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
นอกจากเครื่องหมายการค้า/บริการแล้ว ยังมีเครื่องหมายชนิดอื่นที่กฎหมายกำหนดให้สามารถนำมาจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองได้ ได้แก่
เครื่องหมายการค้ามีอายุคุ้มครอง 10 ปี และสามารถต่ออายุ ได้ทุก ๆ 10ปี จนกว่าเจ้าเครื่องหมายการค้านั้นไม่ประสงค์จะใช้เครื่องหมายดังกล่าวแล้ว
เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
1. กรณีคำขอจดทะเบียนมีข้อบกพร่องหรือเอกสารประกอบคำขอไม่ครบถ้วน
-เจ้าหน้าที่รับคำขอจะแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนแก้ไขให้ถูกต้องหรือยื่นเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมในทันที
-หากผู้ขอไม่สามารถดำเนินการแก้ไขหรือยื่นเอกสารหลักฐานได้ในทันที เจ้าหน้าที่จะทำบันทึกข้อบกพร่องหรือรายการเอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นเพิ่มเติม พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาให้ผู้ขอดำเนินการแก้ไขหรือยื่นเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ยื่นคำขอ และให้มีการลงนามเจ้าหน้าที่รับคำขอและผู้ขอจดทะเบียนในบันทึกนั้น โดยเจ้าหน้าที่จะมอบสำเนาบันทึกดังกล่าวให้แก่ผู้ขอเพื่อเป็นหลักฐาน
-หากผู้ยื่นคำขอไม่ดำเนินการส่งเอกสารเพิ่มเติมให้ครบถ้วนภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอละทิ้งคำขอ โดยเจ้าหน้าที่จะดำเนินการคืนคำขอให้แก่ผู้ยื่นคำขอพร้อมทั้งแจ้งเหตุแห่งการคืนคำขอและสิทธิในการอุทธรณ์ให้ทราบด้วย
2. เมื่อผู้ยื่นคำขอได้ชำระเงินค่าธรรมเนียมใดๆ ให้แก่กรมทรัพย์สินทางปัญญาไปแล้ว จะขอคืนค่าธรรมเนียมดังกล่าวไม่ได้ไม่ว่าในกรณีใดๆ เว้นแต่
(1) มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้คืนค่าธรรมเนียม หรือ
(2) ชำระค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อนหรือชำระเกิน ซึ่งการชำระดังกล่าว เกิดเนื่องจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยมิใช่ความผิดของผู้ชำระซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะได้พิจารณาเป็นกรณีๆ ไป
3. ในกรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนยื่นคำขอจดทะเบียนผ่านทางอินเตอร์เน็ต
-ผู้ขอจะต้องปฏิบัติตาม ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายและคำร้องหรือคำขออื่นๆ
4. กรณีการยื่นคำขอมีการตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจ
4.1) ได้กระทำในต่างประเทศ
-หนังสือตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจต้องมีคำรับรองลายมือชื่อผู้ลงนามโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของสถานทูตไทย หรือ
-สถานกงสุลไทย หรือ
-หัวหน้าสำนักงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ซึ่งประจำอยู่ ณ ประเทศที่ผู้ตั้งตัวแทนหรือผู้มอบอำนาจมีถิ่นที่อยู่ หรือ
-เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายให้กระทำการแทนบุคคลดังกล่าว หรือ
-มีคำรับรองของบุคคลซึ่งกฎหมายของประเทศนั้น ให้มีอำนาจรับรองลายมือชื่อ หรือ
4.2) ได้กระทำในประเทศไทยโดยผู้ตั้งตัวแทนหรือผู้มอบอำนาจมิได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
-ต้องส่งสำเนาหนังสือเดินทาง หรือ
-สำเนาหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ชั่วคราว หรือ
-หลักฐานอื่นที่แสดงให้นายทะเบียนเห็นว่าในขณะตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจ ผู้มอบอำนาจได้เข้ามาในประเทศไทยจริง
5. กรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือตัวแทนผู้รับมอบอำนาจไม่ได้เป็นผู้ยื่นคำขอด้วยตนเอง โดยมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้ยื่นคำขอแทน
-ควรมีหนังสือมอบอำนาจช่วงหรือหนังสือมอบอำนาจเฉพาะการให้บุคคลนั้น มีอำนาจยื่นคำขอและลงนามในบันทึกความบกพร่องแทนได้พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวที่ทางราชการออกให้ของผู้รับมอบอำนาจ และติดอากรแสตมป์ เพราะหากคำขอไม่ถูกต้องหรือเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วน และบุคคลผู้ยื่นคำขอไม่มีอำนาจลงนามในบันทึกดังกล่าว เจ้าหน้าที่ไม่อาจรับคำขอไว้ได้
6. การยื่นเอกสารประกอบคำขอ
6.1) กรณีที่ผู้ยื่นคำขอต้องนำเอกสารหรือหลักฐานหลายรายการมายื่นเพิ่มเติมให้ครบถ้วนตามบันทึกความบกพร่อง ให้ผู้ยื่นคำขอนำเอกสารหรือหลักฐานทั้งหมดมายื่นในคราวเดียวกัน
6.2) กรณีที่จะต้องส่งสำเนาเอกสารหลักฐาน ให้ทำการรับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารหลักฐานนั้นด้วย
6.3) กรณีที่จะต้องส่งเอกสารเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ส่งเอกสารนั้นพร้อมด้วยคำแปลเป็นภาษาไทยโดยมีคำรับรองของผู้แปลว่าเป็นคำแปลที่ถูกต้อง
6.4) กรณีที่ผู้ขอจะต้องส่งต้นฉบับเอกสาร หากเป็นการยื่นคำขอในเรื่องเดียวกันพร้อมกันหลายคำขอ ให้ผู้ขอส่งต้นฉบับเอกสารเพียงคำขอเดียว และในคำขออื่นๆอนุญาตให้ส่งเป็นสำเนาเอกสารได้ แต่ผู้ขอจะต้องระบุในสำเนาเอกสารว่าต้นฉบับอยู่ในคำขอใด
1.คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการเครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม
ก) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ 1,000 บาท
ข) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก มากกว่า 5 อย่าง จำพวกละ 9,000 บาท
2.คำคัดค้านการขอจดทะเบียนตาม (1) ฉบับละ 2,000 บาท
3.คำอุทธรณ์
ก) อุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 27 หรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนตามมาตรา 37 ฉบับละ 4,000 บาท
ข) อุทธรณ์ตามมาตราอื่น ฉบับละ 2,000 บาท
4.คำขอโอนหรือรับมรดกสิทธิในคำขอที่ยื่นจดทะเบียน
และคำขอโอนหรือรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายที่จดทะเบียนแล้ว คำขอละ 2,000 บาท
5.คำขอจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ คำขอละ 1,000 บาท
6.คำขอต่ออายุการจดทะเบียน
ก) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ 2,000 บาท
ข) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก มากกว่า 5 อย่าง จำพวกละ 18,000 บาท
7.คำร้องขอต่อคณะกรรมการให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม ฉบับละ 1,000 บาท
คำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ คำขอละ 400 บาท
พิธีสารมาดริด (MADRID PROTOCOL)
เป็นระบบยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการกระจายคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไปยังประเทศต่างๆที่เป็นภาคีมาตริด ซึ่งจะช่วยให้การขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้รับคำขอ
หากประเทศไทย เข้าเป็นภาคีพิธีสารมาดริด ผู้ประกอบการหรือผู้ส่งออกของไทยจะได้รับประโยชน์ โดยสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพื่อขอรับความคุ้มครองในประเทศต่าง ๆ ได้ หลายประเทศในคราวเดียวกัน โดยยื่นคำขอจดทะเบียน เพียงคำขอเดียว ใช้เพียงภาษาเดียว คือ ภาษาอังกฤษ และเสียค่าธรรมเนียมเพียงครั้งเดียว ซึ่งก็จะทำให้ได้รับความสะดวกรวดเร็ว ในการยื่นคำขอจดทะเบียน และประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
บริษัทกฎหมายที่ให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาแบบครบวงจร ทั้งการดำเนินการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงการดำเนินคดีทางทรัพย์สินทางปัญญา และบริการด้านกฎหมายอื่นๆ