COPYRIGHT

ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์คืออะไร

  • ลิขสิทธิ์ หมายถึง ผลงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ประเภทต่าง ๆ เชน่ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ เป็นต้น ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานลิขสิทธิ์ของตน โดยกฎหมายลิขสิทธิ์ได้ให้ความคุ้มครองถึงสิทธิของนักแสดง และการสร้างสรรค์ด้านเทคโนโลยี เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย
  • ลิขสิทธิ์ เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ และความวิริยะอตุสาหะในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น “ทรัพย์สินทางปัญญา” ประเภทหนึ่งที่มีคณุค่าทางเศรษฐกิจ ดังนั้น เจ้าของลิขสิทธิ์จึงควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
  • เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถหาประโยชน์จากงานลิขสิทธิ์ของตนได้ เช่น ทำซ้ำ คือการคัดเลือก ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ ฯลฯ จากต้นฉบับหรือสำเนา ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือเผยแพร่ ต่อสาธารณชน เช่น การแสดง การบรรยาย การจำหน่าย การทำให้ปรากฏด้วยเสียงด้วยภาพ ฯลฯ จาก งานที่ได้จัดทำขึ้นเป็นต้น

ภาพรวมขั้นตอนการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์
  1. เป็นงานที่แสดงออกถึงความคิด (expression of idea)
  2. เป็นงานที่ริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเอง (originality)
  3. การทุ่มเทกำลัง ความรู้ ความสามารถ ความตั้งใจวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์ (sweat & labour and judement )
  4.  มีลักษณะเข้าข่ายตามประเภทของงานที่กฎหมายลิขสิทธิ์รับรอง
  5. เป็นงานที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดี

ได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ คือ
– วรรณกรรม (หนังสือ จุลสาร โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ)
– นาฏกรรม (ท่ารำ ท่านเต้น ฯลฯ)
– ศิลปกรรม (จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ แผนที่ ศิลปประยุกต์ ฯลฯ)
– ดนตรีกรรม (คำร้องที่แต่งเพื่อประกอบทำนอง ทำนองและคำร้อง ฯลฯ)
– โสตทัศนวัสดุ (ดีวีดี)
– ภาพยนตร์ (ดีวีดี)
– สิ่งบันทึกเสียง (ซีดี)
– งานแพร่เสียงแพร่ภาพ (รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์) (ดีวีดี)
– งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

1. ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือวิธีทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
2. ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร
3. รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
4. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือท้องถิ่น
5. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานทางราชการ
6. คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆตามข้อ 2-5 ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานใดของรัฐหรือของท้องถิ่นที่จัดทำขึ้น

สิทธิในลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันทีนับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียน ดังนั้น เจ้าของลิขสิทธิ์จึงควรที่จะปกป้องคุ้มครองสิทธิของตนเอง โดยการเก็บรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงว่าได้ทำ การสร้างสรรค์ผลงานนั้นขึ้นเพื่อประโยชน์ในการพิสจูน์สิทธิ หรือความเป็นเจ้าของในโอกาสต่อไป

 

บุคคลที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้
1. ผ้สูร้างสรรค์งาน โดยความคิดริเริ่มของตนเอง โดยไม่ลอกเลียนงานของบคุคลอื่น และอาจหมายรวมถึงผู้สร้างสรรค์งานร่วมกันด้วย
2. ผู้สร้างสรรค์ในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง
3. ผู้ว่าจ้างในกรณีว่าจ้างให้บุคคลอื่นสร้างสรรค์งาน
4. ผู้ดัดแปลง รวบรวม หรือประกอบกันเข้า โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
5. กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
6. ผ้รูับโอนลิขสิทธิ์

เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ ต่องาน อันมีลิขสิทธิของตนดังนี้
1. ทำซ้ำหรือดัดแปลง
2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน
3. ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึกเสียง
4. ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
5. อนุญาตให้ผ้อูื่นใช้สิทธิตาม 1, 2 หรือ 3 โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ที่ ไม่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม

โดยทั่ว ๆ ไป การคุ้มครองลิขสิทธิ์ จะมีผลเกิดขึ้นโดยทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยความ ค้มุครองนี้จะมีตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และจะคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต หากแต่ มีงานบางประแภทที่จะมีอายุการคุ้มครองแตกต่างกัน ดงันนั้ อายุการคุ้มครองสามารถแยกได้โดยสรุป ดังนี้
1. อายุการคุ้มครองทั่วไป ลิขสิทธิ์จะมีอยู่ตลอดอายุผู้สร้างสรรค์ และจะมีต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้สร้างสรรค์ ลิขสิทธิ์จะมีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น กรณีที่ผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝง หรือไม่ปรากฎชื่อผู้สร้างสรรค์ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้ สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
2. งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
3 งานที่สร้างสรรค์โดยการจ้างหรือตามคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ ให้มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
4. งานศิลปประยุกต์ ลิขสิทธิ์มีอายุ 25 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น กรณีที่ได้มีการโฆษณางานตาม 1 – 3 ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ยกเว้นในกรณีงานตาม 4 ให้ลิขสิทธิ์มีอายุ 25 ปีนับแต่ได้มีการโฆษณา เป็นครั้งแรก

1. ประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ และมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น หรือผลงานตามข้อใดข้อหนึ่งตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้น เจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน และให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนา งานอันมีลิขสิทธิ์ของตน รวมทั้งให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้ลิขสิทธิ์ของตน ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
2. ประโยชน์ของประชาชนหรือผู้บริโภค การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิในผลงานลิขสิทธิ์ มีผลให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์และมีคุณค่าออกสู่ตลาด ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความรู้ ความบันเทิง และได้ใช้ผลงานที่มีคุณภาพ

ให้เราบริการคุณ!

เราพร้อมดูแล แก้ปัญหา ให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ด้วยความเชี่ยวชาญ มืออาชีพ รวดเร็ว จริงใจ เชื่อถือได้