ขั้นตอนการดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตร
1.สืบค้น สิทธิบัตรที่ได้เปิดเผยไว้แล้ว
2.ร่างเนื้อหาและจัดทำรูปเขียน
3.ยื่นจดทะเบียนและรอการพิจารณาอนุมัติ
เอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตร
1.หนังสือมอบอำนาจ
2.กรณีบริษัท: สำเนาหนังสือรับรองบริษัท + สำเนาบัตรปชช.กรรมการ
3.กรณีบุคคลธรรมดา: รับรองสำเนาบัตร ปชช.
4.สำเนาบัตรปชช.ของผู้ประดิษฐ์
5.หนังสือแสดงสิทธิในการขอรับสิทธิบัตร
6.หนังสือสัญญาโอน
ขั้นตอนการดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตร
1.สืบค้น สิทธิบัตรที่ได้เปิดเผยไว้แล้ว
2.ร่างเนื้อหาและจัดทำเอกสาร
3.ยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรและรอการพิจารณาอนุมัติ
เอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตร
1.หนังสือมอบอำนาจ
2.กรณีบริษัท : สำเนาหนังสือรับรองบริษัท / สำเนาบัตปชช. กรรมการ
3.กรณีบุคคลธรรมดา : รับรองสำเนาบัตร ปชช.
4.สำเนาบัตรปชช.ของผู้ออกแบบ
5.หนังสือแสดงสิทธิในการขอรับสิทธิบัตร
6.หนังสือสัญญาโอน
สิทธิบัตร (Patent) คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ และอนุสิทธิบัตร ผู้ทรงสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรมีสิทธิเด็ดขาดหรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาผลประโยชน์จาก การประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรนั้น ภายในระยะเวลาตามที่ กฎหมายกำหนด
สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ ในการคิดค้นเกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้าง หรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การเก็บรักษา หรือการปรับปรุง คุณภาพของผลิตภัณฑ์
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับการผลิตภัณฑ์เชิงอุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรมได้ และมีความแตกต่างไปจากเดิม
อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) คือ คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการรักษาหรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น กลไกของเครื่องยนต์ ,ยารักษาโรค, วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป เป็นต้น
PCT ย่อมาจาก Patent Cooperation Treaty สนธิสัญญาความเป็นความตกลงระหว่างประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในการขอรับความคุ้มครองร่วมมือด้านสิทธิบัตร สิทธิบัตรการประดิษฐ์ระหว่างประทศ ซึ่งจะช่วยลดภาระ ขั้นตอนและค่าใช้จ่าย ให้แก่ผู้รับคำขอที่ต้องการขอรับความคุ้มครองในต่างประเทศ ระบบ PCT นี้ไม่ได้เป็นระบบการรับจดทะเบียนสิทธิบัตร การรับจดทเบียนสิทธิบัตร PCT เป็นอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศที่ผู้ขอประสงค์ จะขอความคุ้มครอง ซึ่งจะมีกรตรวจสอบตามขั้นตอนและเงื่อนไขของกฎหมายภายในประเทศนั้นๆ ก่อนรับจดทะเบียนสิทธิบัตร ประเทศไทยสมัครเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาความร่วมมือค้นสิทธิบัตร เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2552 ถือเป็นสมาชิกลำดับที่ 142
เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่
กล่าวคือ การประดิษฐ์นั้นยังไม่เคยมีการจำหน่าย หรือใช้แพร่หลายในประเทศไทย ก่อนวันยื่นขอหรือยังไม่เคยมีการเปิดเผยสาระสำคัญของการประดิษฐ์นั้นก่อนวันที่ยื่นขอหรือยังไม่เคยมีการเปิดเผยสาระสำคัญของการประดิษฐ์นั้นก่อนวันที่ยื่นขอทั้งในหรือต่างประเทศก่อนวันยื่นคำขอ (เว้นแต่เป็นการแสดงผลงานในงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศหรือการแสดงต่อสาธารณชนที่หน่วยราชการจัดขึ้น แต่ต้องมาขอยื่นรับสิทธิบัตรภายใน 12 เดือน นับแต่วันปิดแสดงงานพร้อมแนบหนังสือรับรองของผู้จัดงานแสดง)
มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น
กล่าวคือไม่เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถทำได้ง่ายโดยผู้มีความรู้ในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น หรืออาจพูดได้ว่ามีการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคของการประดิษฐ์ที่มีมาก่อน
สามารถประยุกต์ใช้ในงานทางอุตสาหกรรมได้
เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่
กล่าวคือ การประดิษฐ์นั้นยังไม่เคยมีการจำหน่าย หรือใช้แพร่หลายในประเทศไทย ก่อนวันยื่นขอหรือยังไม่เคยมีการเปิดเผยสาระสำคัญของการประดิษฐ์นั้นก่อนวันที่ยื่นขอหรือยังไม่เคยมีการเปิดเผยสาระสำคัญของการประดิษฐ์นั้นก่อนวันที่ยื่นขอทั้งในหรือต่างประเทศก่อนวันยื่นคำขอ (เว้นแต่เป็นการแสดงผลงานในงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศหรือการแสดงต่อสาธารณชนที่หน่วยราชการจัดขึ้น แต่ต้องมาขอยื่นรับสิทธิบัตรภายใน 12 เดือน นับแต่วันปิดแสดงงานพร้อมแนบหนังสือรับรองของผู้จัดงานแสดง)
สามารถประยุกต์ใช้ในงานทางอุตสาหกรรมได้
ต้องมีคุณค่าต่ออุตสาหกรรมด้านใดด้านหนึ่ง การประดิษฐ์จะต้องไม่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความเป็นอยู่ของประชากรโดยรวมหรือประเทศชาติ
ผู้ที่ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ย่อมสมควรได้รับผลตอบแทน โดยการได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตร ซึ่งสามารถที่จะนำการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรนั้นไปผลิต จำหน่าย นำเข้ามาในราชอาณาจักร หรืออนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิบัตรนั้นโดยได้รับค่าตอบแทนก็ได้
1.สิทธิบัตรการประดิษฐ์
1) ต้องเป็นการประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นใหม่ คือ การประดิษฐ์ที่แตกต่างไปจากเดิม ยังไม่เคยมี ใช้หรือแพร่หลายมาก่อนในประเทศ หรือไม่เคยเปิดเผยสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือ การนำออกแสดง หรือเปิดเผยต่อสาธารณชนมาก่อนทั้งในและนอกประเทศ และยังไม่เคยได้รับสิทธิบัตรมาก่อน
2) ต้องเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น คือ มีลักษณะที่เป็นการแก้ไขปัญหาทางเทคนิค หรือไม่เป็นการประดิษฐ์ที่ทำได้โดยง่ายต่อผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น
3) ต้องเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถนำไปประยุกต์ในทางอุตสาหกรรมได้
2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
ต้องเป็นการออกแบบผลิตภณัฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมซึ่งรวมถึง หัตถกรรม คือ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่มีใช้แพร่หลายในประเทศ ยังไม่ได้เปิดเผยสาระสำคัญหรือ รายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ก่อนวันขอรับสิทธิบัตร และไม่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว
1. การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้
1) จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช
2) กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
3) ระเบียบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
4) วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์
5) การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี อนามัย หรือสวัสดิภาพของประชาชน
2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้
1) แบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่การออกแบบ
2) แบบผลิตภัณฑ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
3) แบบผลิตภัณฑ์ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (ยังไม่มีการกำหนด)
สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี นับแต่วันยื่นคำขอรับสิทธิบัตร
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับแต่วันยื่นคำขอรับสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร มีอายุ 6 ปี นับตั้งแต่วันยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร และต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปี ตั้งแต่เริ่มต้นปีที่ 5 และปีที่ 6 ทั้งนี้สามารถต่ออายุได้สองครั้ง ครั้งละ 2 ปี (รวม 10 ปี)
คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 500 บาท
คำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 250 บาท
คำขอแก้ไขเพิ่มเติม 50 บาท
การประกาศโฆษณา 250 บาท
คำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ 250 บาท (เฉพาะกรณีการประดิษฐ์กระทำได้ภายใน 5 ปี นับจากวันประกาศโฆษณา) รับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตร 500 บาท
คำคัดค้าน (กระทำได้ภายใน 90 วนั นับจากวันประกาศโฆษณา) 500 บาท
คำอุทธรณ์ 500 บาท
คำขอเปลี่ยนแปลงคำขอรับสิทธิบัตร 100 บาท (กระทำได้ก่อนการประกาศโฆษณาสิทธิบัตร)
สิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตรต่างก็มีขอบเขตในการให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกัน แต่
สิทธิบัตรการประดิษฐ์นั้น เป็นการให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์ที่เป็นเทคนิคขั้นสูงขึ้น กล่าวคือ จะต้องมีการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคของสิ่งที่มีมาก่อนหรือที่เรียกว่า มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น
ส่วนอนุสิทธิบัตร เป็นการให้คุ้มครองการประดิษฐ์ที่มีเทคนิคไม่สูงมากนัก อาจจะเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย
ขั้นตอนการขอรับอนุสิทธิบัตรจะใช้ระยะเวลาสั้นกว่าสิทธิบัตรมาก เนื่องจากใช้ระบบจดทะเบียนแทนการใช้ระบบที่ต้องมีการตรวจสอบก่อนรับจดทะเบียน
ผู้ประดิษฐ์คิดค้นสามารถที่จะเลือกว่าจะยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะขอรับความคุ้มครองทั้งสองอย่างพร้อมกันไม่ได้
หากจะต้องเลือกยื่นขอรับความคุ้มครอง ควรเลือกยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรจะดีกว่าอนุสิทธิบัตร
เนื่องจากว่า สิทธิบัตรนั้นเป็นการคุ้มครองเทคนิคขั้นสูงกว่าอนุสิทธิบัตรที่มีเทคนิคไม่สูงมากนัก
ดังนั้น สิทธิบัตรจึงเป็นการให้ความคุ้มครองที่คลอบคลุมมากกว่าอนุสิทธิบัตร
บริษัทกฎหมายที่ให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาแบบครบวงจร ทั้งการดำเนินการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงการดำเนินคดีทางทรัพย์สินทางปัญญา และบริการด้านกฎหมายอื่นๆ