INTERNATION PATENT

สิทธิบัตรต่างประเทศ

บริการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรต่างประเทศ

การจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศหนึ่งแล้วจะไม่มีผลคุ้มครองไปยังอีกประเทศหนึ่ง เนื่องจากการจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศใด ก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรของประเทศนั้นๆ ซึ่งกฎหมายในประเทศหนึ่งจะไม่สามารถบังคับใช้ไปยังประเทศที่สอง หรืออีกประเทศหนึ่งได้ เนื่องด้วยตามหลักดินแดน และ อํานาจอธิปไตยของแต่ละประเทศ  กล่าวอย่างง่ายๆ คือ กฎหมายของประเทศใด ก็ย่อมใช้บังคับกับประเทศนั้น เช่น กฎหมายสิทธิบัตรประเทศไทย ก็ย่อมใช้บังคับได้แค่เฉพาะประเทศไทย ไม่สามารถไปใช้บังคับในประเทศอื่นได้

ดังนั้นการจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศไทยจะไม่มีผลคุ้มครองถึงต่างประเทศด้วย ซึ่งเมื่อต้องการให้สิทธิบัตรมีผลคุ้มครองไปถึงต่างประเทศ ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องทำการยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศที่ประสงค์จะขอความคุ้มครองนั้นด้วย

ผู้ขอจดทะเบียนสามารถยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรในต่างประเทศได้ โดยมีทางเลือก ดังนี้

(1) สามารถยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในทุกประเทศที่ต้องการให้สิ่งประดิษฐ์ของตนได้รับความคุ้มครอง ซึ่งจะต้องเตรียมคำขอประเทศละ 1 ชุด เพื่อดำเนินการยื่นขอรับสิทธิบัตรหรือขอรับความคุ้มครองในประเทศที่ผู้ขอประสงค์จะยื่น

 

(2) สามารถยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศที่เป็นสมาชิกของอนุสัญญากรุงปารีส (ประเทศสมาชิกของอนุสัญญากรุงปารีสเพื่อการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม) และหลังจากนั้นจึงยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในแต่ละประเทศสมาชิก อนุสัญญากรุงปารีสอื่น ๆ ภายในระยะเวลา 12 เดือน นับจากวันที่ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรฉบับแรกเพื่อให้ผู้ขอได้รับประโยชน์จากวันที่ได้ยื่นคำขอครั้งแรกในทุก ๆ ประเทศเหล่านั้น

เมื่อผู้ขอได้ดำเนินการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในแต่ละประเทศสมาชิกของอนุสัญญากรุงปารีส หรืออนุสัญญากรุงปารีสอื่น ๆ แล้ว ภายในระยะเวลา 12 เดือน นับแต่วันที่ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรฉบับแรก ให้ดำเนินการยื่นคำขอถือสิทธิย้อนหลังเข้าไปพร้อมกับคำขอรับสิทธิบัตรที่จะยื่นในแต่ละประเทศสมาชิกนั้นด้วย

คำขอถือสิทธิย้อนหลังคือ ขอถือสิทธิให้ถือวันที่ยื่นคำขอในต่างประเทศเป็นครั้งแรกเป็นวันยื่นคำขอในประเทศนั้นๆ ที่ผู้ขอประสงค์จะยื่น ซึ่งผู้ขอจะได้รับประโยชน์ตรงนี้ คือ วันที่ผู้ขอยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้นั้น ก็จะย้อนไปถึงวันที่เราได้ยื่นคำขอในต่างประเทศเป็นครั้งแรกเลย เช่น ผู้ขอทำการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศจีน เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 และภายใน 12 เดือน ผู้ขอก็ได้มายื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศไทย ซึ่งก็เป็นสมาชิกของอนุสัญญากรุงปารีสด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ผู้ขอก็ได้ยื่นคำขอถือสิทธิย้อนหลังไปด้วย เพื่อขอถือสิทธิวันที่ยื่นในประเทศจีน เป็นวันที่ยื่นคำขอในไทยด้วย คือ 25 มกราคม 2564

(3) สามารถยื่นคำขอภายใต้ สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร หรือ PCT (Patent Cooperation Treaty) โดยสามารถที่จะยื่นคำขอที่สำนักงานสิทธิบัตรภายในประเทศ ของตน และสำนักงานสิทธิบัตรก็จะส่งคำขอไปดำเนินการตามขั้นตอนของระบบ PCT ที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ซึ่งการรับจดทะเบียนสิทธิบัตร PCT เป็นอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศที่ผู้ขอประสงค์จะขอความคุ้มครอง ซึ่งจะมีการตรวจสอบตามขั้นตอนและเงื่อนไขของกฎหมายภายในประเทศนั้น ๆ ก่อนรับจดทะเบียนสิทธิบัตรต่อไป

การยื่นคำขอ PCT นี้ หากผู้ขอยื่นได้ยื่นไปในหลายๆ ประเทศ แล้วเข้าใจว่าทุกประเทศที่ยื่นไปนั้น จะต้องได้รับจดทะเบียน ซึ่งหากเข้าใจแบบนั้น เป็นการเข้าใจแบบผิดๆ เพราะระบบ PCT นั้นไม่ใช่ระบบรับจดทะเบียน แต่เป็นเพียงความตกลงระหว่างประเทศสำหรับการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศที่เป็นสมาชิก เพื่ออำนวยความสะดวก และลดภาระของผู้ขอรับสิทธิบัตรเท่านั้น การจะรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนนั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาคำขอรับสิทธิบัตรของแต่ละประเทศๆ ไป เป็นการพิจารณาการรับจดทะเบียนเป็นรายประเทศไป ไม่ใช่ยื่นทุกประเทศ แล้วจะได้รับจดทะเบียนทุกประเทศนั้นไม่ใช่ หรือ ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศหนึ่งประเทศใดแล้ว จะได้รับความคุ้มครองในทุกประเทศทั่วโลก

ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรทั่วโลก (PCT)

Step 1 

ยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรแบบระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) สํานักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย (International Phase)

Step 2 

สํานักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย ส่งสิทธิบัตรไปตรวจสอบยัง องค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ (ISA) โดยองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ (ISA) จะจัดทํารายงานผลการตรวจค้น ภายใน 16-18 เดือน (International Phase)

ค่าตรวจสอบ

บุคคลธรรมดาประมาณ 21,000 บาท

นิติบุคคลประมาณ 70,000 บาท

ผลรายงานผลการตรวจค้น

1.ผ่าน

2.ไม่ผ่าน

Step 3

หากผลผ่าน ยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรแบบระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) ในสํานักงานสิทธิบัตรในประเทศปลายทาง เช่น ประเทศไทย ประเทศอเมริกา (Nation Phase)

ค่าธรรมเนียมดำเนินการรวมค่าบริการตัวแทนในประเทศปลายทางประมาณ 50,000-200,000 บาท

ขั้นตอนการพิจารณาของสํานักงานสิทธิบัตรในประเทศปลายทาง (Nation Phase)

1.ยื่นจดทะเบียน

2.ประกาศโฆษณา

3.ร้องขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์

4.อนุมัติรับจดทะเบียน (คุ้มครอง 20 ปี)

ระยะเวลาพิจารณา 2-4 ปี

สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร หรือ PCT คืออะไร?

PCT ย่อมาจาก Patent Cooperation Treaty เป็นความตกลงระหว่างประเทศสำหรับการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศที่เป็นสมาชิก เพื่ออำนวยความสะดวก และลดภาระของผู้ขอรับสิทธิบัตร แทนที่จะต้องไปยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศต่าง ๆ แต่ละประเทศที่ผู้ขอประสงค์จะขอรับความคุ้มครอง โดยสามารถที่จะยื่นคำขอที่สำนักงานสิทธิบัตรภายในประเทศ ของตน สำนักงานสิทธิบัตรก็จะส่งคำขอไปดำเนินการตามขั้นตอนของระบบ PCTที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO)

ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ

1.ขั้นตอนระหว่างประเทศ (International Phase)

จะข้องเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ก่อนเข้าประเทศปลายทาง โดยที่คำขอรับสิทธิบัตรที่จะยื่นผ่านระบบ PCT นั้นจะต้องดำเนินการภายใต้กฎเกณฑ์และเงื่อนไขเวลาที่กำหนดโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญา (WIPO)

เช่น

  • การยื่นคำขอระหว่างประเทศ
  • การเลือกองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ (ISA) เพื่อให้ตรวจค้นงานที่ปรากฎอยู่แล้ว พร้อมทั้งออกความเห็นในการประเมินความเป็นไปได้ในการได้รับสิทธิบัตร
  • ประกาศโฆษณาคำขอระหว่างประเทศ
  • องค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศจัดทำรายงานผลการตรวจสอบ

เมื่อได้ผลการตรวจสอบ ก็สามารถดำเนินการในขั้นตอนขาเข้าประเทศต่อไป โดยเลือกว่าจะไปยื่นจดในประเทศใดบ้าง ทาง WIPO จะเป็นผู้ยื่นคำขอเหล่านี้ไปยังประเทศต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นอันสิ้นสุดกระบวนการของการยื่นคำขอ PCT

2.ขั้นตอนในประเทศ (National Phase)

เป็นขั้นตอนเข้าไปขอรับความคุ้มครองในประเทศปลายทาง ซึ่งผู้ขอจะต้องดำเนินการตามข้อกำหนดและกฎหมายของประเทศนั้นๆ ที่จะตรวจสอบการประดิษฐ์และรับจดทะเบียนคำขอ PCT ต่อไป เช่น

  • เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนภายในประเทศ สำนักระหว่างประเทศก็จะส่งรายงานการตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศไปยังสำนักงานสิทธิบัตรในประเทศที่ถูกเลือก

*หมายเหตุ การที่คำขอระหว่างประเทศใดได้รับอนุมัติการจดทะเบียนในประเทศหนึ่งแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับอนุมัติการจดทะเบียนในประเทศอื่นๆด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากการอนุมัติการจดทะเบียนของแต่ละประเทศย่อมขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้นๆ

ให้เราบริการคุณ!

เราพร้อมดูแล แก้ปัญหา ให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ด้วยความเชี่ยวชาญ มืออาชีพ รวดเร็ว จริงใจ เชื่อถือได้