สโลแกน หรือเครื่องหมายการค้านั้นมีประเด็นที่จะต้องวินิฉัยว่า คำดังกล่าวสามารถจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าได้หรือไม่
ประการแรกเราต้องพิจารณาเป็นเบื้องต้นก่อนว่า เครื่องหมายการค้า เข้าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้สามารถจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ หรือไม่ ซึ่งองค์ประกอบของสิ่งที่จะจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าได้จะต้องประกอบด้วย
- เป็นเครื่องหมายการค้า ที่ทีลักษณะบ่งเฉพาะ
- เป็นเครื่องหมายการค้าที่ ไม่มี ลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย
- ไม่เป็น เครื่องหมายการค้าที่ เหมือน หรือ คล้าย กับเครื่องหมายการค้า ที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว
เมื่อเราพิจารณา “สโลแกน” พบว่า
ประการแรก ต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ กล่าวคือ เป็นลักษณะที่ ทำให้ประชาชน หรือ ผู้ใช้สินค้านั้นทราบ และเข้าใจว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้น แตกต่าง ไปจากสินอื่น โดยที่ข้อความนั้นไม่ได้ เล็ง ถึงคุณลักษณะ หรือ คุณสมบัติของสินค้านั้นโดนตรง และไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ดังนั้นจึงต้องพิจารณาเป็นเบื้องต้นว่า “สโลแกนดังกล่าว มีลักษณะที่ต้องห้ามไม่ทำให้เป็นขาดความเป็น บ่งเฉพาะ หรือไม่”
กรณีเช่น “แซบ ซี๊ด” กรณีเป็นการใช้กับ ร้านส้มตำ อย่างนี้มีลักษณะที่ขาดความบ่งเฉพาะ ทำให้ไม่สามารถจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าได้
ประการที่ 2 ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย
การต้องห้ามตามกฎหมายหมายความว่า ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 [1]
ประการที่ 3 ประการสุดท้าย ต้องไม่ เหมือน หรือ คล้าย กับเครื่องหมายการค้า ที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว
ประการสุดท้ายนี้ เป็นข้อพิจารณาที่สำคัญเพราะโดยส่วนใหญ่แล้วการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ที่จะไม่สามารถที่จะจดทะเบียนได้ โดยส่วนใหญ่มักจะพบข้อผิดพลาดในส่วนประการสุดท้าย จนในท้ายที่สุดไม่สามารถที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้
[1] มาตรา 8 พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า 2534