บริการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จดลิขสิทธิ์ จดโลโก้ จดแบรนด์สินค้า ยื่นจดเครื่องหมายการค้า SME

ราคา 3,900 บาท
ปรึกษาฟรี เรื่องจดเครื่องหมายการค้า โทร.

สนใจจดเครื่องหมายการค้า จดโลโก้ เพื่อคุ้มครองแบรนด์ แอดไลน์ด่วน

IP-Thailand รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้า คือ เครื่องหมายที่ใช้ หรือจะใช้ กับสินค้าหรือบริการ เพื่อแสดงว่าสินค้าหรือบริการนั้น แตกต่างกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น หรือที่ทุกคนเรียกกันว่าโลโก้ ชื่อแบรนด์ ซึ่งการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้นั้น จะเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้อื่นมาcopy แบรนด์ของเราได้

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะต้องทำการยื่นจดต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเมื่อยื่นเอกสารไปแล้วนั้น จะต้องรอนายทะเบียนทำการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ทั้งนี้จะต้องใช้ระยะเวลายาวนานกว่า6-12 เดือน และยังมีโอกาสที่จะไม่ได้รับจดทะเบียนอีกด้วยหากผู้ยื่นจดไม่มีความเชี่ยวชาญ

เอกสารและขั้นตอนสำหรับการจดเครื่องหมายการค้า

เอกสารสำหรับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

สำหรับบุคคลธรรมดา
1.สำเนาบัตรประชาชน
2.ไฟล์ภาพเครื่องหมายการค้า
3.รายการสินค้าของเครื่องหมายการค้า
4.หนังสือมอบอำนาจ(บริษัทเราจัดเตรียมให้)

สำหรับนิติบุคคล
1.สำเนาหนังสือรับรองบริษัท
2.ไฟล์ภาพเครื่องหมายการค้า
3.รายการสินค้าของเครื่องหมายการค้า
4.หนังสือมอบอำนาจ(บริษัทเราจัดเตรียมให้)

ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

1.ชำระค่าบริการจดทะเบียน
2.ตรวจสอบเครื่องหมายการค้า
3.ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
4.ติดตามสถานะ หลังยื่นจดทะเบียน
5.ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
หลังจากยื่นจดทะเบียน กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะใช้เวลาออกหนังสือสำคัญการจดทะเบียนประมาณ6-12เดือน

เกี่ยวกับ IP THAILAND

IP THAILAND เป็นบริษัทกฎหมายที่ให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาแบบครบวงจร ทั้งการดำเนินการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยเริ่มตั้งแต่การเตรียมคำขอจดจนกระทั่งได้รับการจดทะเบียน การดำเนินการยื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตร สิทธิบัตรการออกแบบ นอกจากนี้ยังรวมถึงการร่างคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตร การดำเนินการยื่นจดแจ้งลิขสิทธิ์ และการดำเนินคดีอันเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาทุกแขนง กล่าวโดยสรุป ด้วยประสบการณ์การจดเครื่องหมายการค้าอันยาวนานของทนายความของเรา ขอให้ท่านมั่นใจได้ว่าสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของท่านจะได้รับการดูแล บริหารจัดการเป็นอย่างดี

ทำไมต้องยื่นจดทะเบียนกับ IP-THAILAND

ด้วยประสบการณ์กว่า 10ปีในการจดทะเบียน ทำให้เรามีความเข้าใจในทุกสาขาธุรกิจของลูกค้าที่ต้องการจดเครื่องหมายการค้า นอกจากนี้ เรามีทีมนักกฎหมายมืออาชีพที่ให้บริการจดทะเบียนแก่ลูกค้ามาแล้วมากกว่า 1,000ราย ซึ่งช่วยจัดการดูแลทรัพย์สินทางปัญญา ของลูกค้าให้ธุรกิจประสบความสำเร็จทั้งในประเทศและต่างประเทศ และยิ่งไปกว่านั้น เรายังสามารถให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายและทางด้านธุรกิจได้ทุกระดับภาคธุรกิจ

ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่ยื่นจดทะเบียนได้
  1. เครื่องหมายการค้ามีลักษณะบ่งเฉพาะ
  2. ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้า
    ของผู้อื่น
  3. เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย
ทำไมต้องยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  1. เพื่อป้องกันการปลอมแปลง และการลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า
  2. ช่วยสร้างมูลค่าและความน่าเชื่อถือในตัวสินค้าได้
  3. ทำให้มีสิทธิที่จะนำเครื่องหมายการค้าไปใช้ และให้สิทธิ์การใช้แก่บุคคลอื่นได้
เครื่องหมายการค้ามี 4 ประเภท คือ
  1. เครื่องหมายการค้า (trademark)
  2. เครื่องหมายบริการ (service mark)
  3. เครื่องหมายรับรอง (certification mark) และ
  4. เครื่องหมายร่วม (collective mark)

การจดทะเบียนเครื่องหมายค้าในประเทศไทยนั้น ไม่มีผลคุ้มครองไปยังต่างประเทศ เนื่องจากตามหลักกฏหมายแล้ว การจดเครื่องหมายการค้าในประเทศใด การคุ้มครองก็จะมีผลเพียงแค่ภายในเขตประเทศนั้น กฏหมายของประเทศไทยจึงไม่มีผลบังคับใช้ในต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อมีการส่งออกสินค้าไทยไปจำหน่ายยังต่างประเทศ หากต้องการได้รับความคุ้มครองเจ้าของสินค้าจะต้องยื่นทำการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศด้วย

บริการจดเครื่องหมายการค้า พิเศษสำหรับลูกค้า SME
เราส่งเสริมธุรกิจ SME ด้วยบริการจดเครื่องหมายการค้า จดโลโก้ จดแบรนด์ของธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตพร้อมแข่งขันในโลกธุรกิจ
ตัวแทนจดเครื่องหมายการค้าต่างประเทศทั่วโลก
บริการพิเศษจดเครื่องหมายการค้า ต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการเปิดตลาดใหม่
จดลิขสิทธิ์สินค้า จดลิขสิทธิ์แบรนด์ ยี่ห้อสินค้า
สำหรับลูกค้าจดลิขสิทธิ์สินค้า ลิขสิทธิ์ในตัวผลงานที่สร้างสรรค์ เราเสนอบริการจดแจ้งลิขสิทธิ์สินค้าคุ้มครองผลงาน รีบจตเร็วจะยิ่งเป็นประโยชน์
จดสิทธิบัตร จดอนุสิทธิบัตร จดสิทธิบัตรออกแบบ

เหมาะแก่ลูกค้าที่ต้องการจดสิทธิบัตร คุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ และผลงานออกแบบ จดอนุสิทธิบัตร สำหรับผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นในไทย

ลูกค้าที่ไว้วางใจเรา

บริการของเรา

เครื่องหมายการค้า

3,900 บาท บริการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จดทะเบียนเครื่องหมายร่วม และจดทะเบียนเครื่องหมายบริการในประเทศไทย

สิทธิบัตร

6,900 บาท บริการรับจดทะเบียนสิทธิบัตร (จดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์, จดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์, จดทะเบียนอนุสิทธิบัตร)

ลิขสิทธิ์

2,900 บาท บริการรับจดแจ้งลิขสิทธิ์ สำหรับเจ้าของผลงานที่ต้องการคุ้มครองลิขสิขธิ์ของตนเอง

เครื่องหมายการค้าและสิทธิบัตรต่างประเทศ

บริการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและจดทะเบียนสิทธิบัตรต่างประเทศ ทั่วโลก

การดำเนินคดีทรัพย์สินทางปัญญาทั้งทางแพ่งและทางอาญา

รับดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินปัญญาทั้งทางแพ่งและทางอาญาทั่วราชอาณาจักร

บริการกฎหมายด้านอื่นๆที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา

บริการให้คำปรึกษาและดำเนินการตามกฎหมายด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา

บริการของเราเหมาะกับใคร

เจ้าของธุรกิจ SME
สำหรับผู้เริ่มต้นธุรกิจใหม่ที่ต้องการปกป้องแบรนด์ เครื่องหมายการค้า และสิทธิในเครื่องหมายการค้า รวมถึงลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตร
บริษัท
เหมาะแก่เจ้าของธุรกิจที่ต้องการปกป้องแบรนด์ เครื่องหมายการค้าและสิทธิในเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ รวมถึงสิทธิบัตร
เจ้าของลิขสิทธ์, นักออกแบบ
เพื่อผู้ที่ต้องการปกป้องงานอันมีลิขสิทธิ งานโลโก้ เครื่องหมายการค้าหรืองานออกแบบของตน ให้ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมาย

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ การจดเครื่องหมายการค้า

การต่ออายุการจดเครื่องหมายการค้า

ภายใต้กฎหมาย เครื่องหมายที่จดทะเบียนแล้วจะมีอายุการคุ้มครองสิบปีนับแต่วันที่จด และอาจต่ออายุได้คราวละสิบปี อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ประสงค์จะต่ออายุการจดเครื่องหมายการค้า อันดันแรกให้ยื่นคำขอต่ออายุต่อนายทะเบียนภายในสามเดือนก่อนวันสิ้นอายุ หรือ อันดับสองให้ยื่นภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นอายุการจด และเมื่อได้ยื่นคำขอต่ออายุภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว กล่าวโดยสรุปให้ถือว่าเครื่องหมายยังคงจดเครื่องหมายการค้าอยู่จนกว่านายทะเบียนจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

การขอถอนการจดเครื่องหมายการค้า

เจ้าของเครื่องหมายก่ารค้าที่ได้ยื่นขอจดเครื่องหมายการค้าไว้แล้วหรือได้รับการจดทะเบียนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้วนั้น อาจร้องขอต่อนายทะเบียนให้ถอนคำขอจดเครื่องหมายการค้าหรือเพิกถอนทะเบียนการจดเครื่องหมายการค้าของตนเองได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีการจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ได้รับอนุญาตด้วย เว้นแต่สัญญาอนุญาตดังกล่าวจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

การรับจดเครื่องหมายการค้า

โดยกฎหมายแล้ว เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดเครื่องหมายการค้าได้ ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ 1. เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7, 2. เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 8 และ, 3. ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้วตามมาตรา 13

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลการจดเครื่องหมายการค้า

เครื่องหมายการค้าที่อยู่ระหว่างพิจารณาหรือที่ได้จดทะเบียนแล้ว อาจขอให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเรื่องดังต่อไปนี้ อันดับแรก ยกเลิกรายการสินค้าบางอย่าง, อันดับสอง ชื่อ สัญชาติ ที่อยู่ และอาชีพของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นและของตัวแทน, อันดับสาม สำนักงานหรือสถานที่ที่สามารถติดต่อได้ในประเทศไทย, อันดับสี่ ยกเลิกตัวแทน ตั้งหรือเปลี่ยนตัวแทน, และ อันดับสุดท้าย สัญชาติ ที่อยู่ และอาชีพของผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมาย

การโอนหรือรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้า

สิทธิในเครื่องหมายการค้าย่อมโอนหรือรับมรดกกันได้ ไม่ว่าเครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอจดเครื่องหมายการค้านั้นจะได้รับการจดไว้แล้วหรือไม่ก็ตาม การโอนหรือการรับมรดกเครื่องหมายการค้าต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

การจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า

ในกรณีที่เครื่องหมายการค้าได้จดทะเบียนไว้แล้ว เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นอาจอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนของตนได้ สำหรับสินค้าที่ได้จดเครื่องหมายการค้าไว้ทั้งหมดหรือบางอย่างก็ได้ เหนือสิ่งอื่นใดสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

การจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า

เครื่องหมายการค้า ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เจ้าของเครื่องหมายนั้นอาจอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายนั้นของตน สำหรับสินค้าที่ได้จดเครื่องหมายการค้าไว้ทั้งหมดหรือบางอย่างก็ได้ สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมาย ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

การจดเครื่องหมายการค้า
ตามพิธีสารมาดริด (MADRID PROTOCOL)

พิธีสารมาดริดเป็นระบบยื่นคำขอจดเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการกระจายคำขอจดเครื่องหมายการค้าไปยังประเทศต่างๆที่เป็นภาคีพิธีสารมาคริต ซึ่งจะช่วยให้การจดเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศสะดวก และประหยัดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้รับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

นอกเหนือจากนั้น การเป็นภาคีพิธีสารมาตริต จะได้รับประโยชน์ในการยื่นจดทะเบียน โดยสามารถยื่นคำขอจตเครื่องหมายการค้า เพื่อขอรับความคุ้มครองในประเทศต่าง ๆ ได้ หลายประเทศในคราวเดียวกัน โดยยื่นคำขอจดทะเบียนเพียงคำขอเดียว ใช้เพียงภาษาเดียว คือ ภาษาอังกฤษ และเสียค่าธรรมเนียมเพียงครั้งเตียว ซึ่งก็จะทำให้ได้รับความสะดวกรวดเร็วในการยื่นคำขอและประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจดเครื่องหมายการค้าได้

คำถามที่พบบ่อย

เครื่องหมายการค้า คือ ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ เสียง ที่นำมาใช้เป็นที่หมายของกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
  1. เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าและความน่าเชื่อถือในตัวสินค้าได้
  2. เพื่อมีสิทธิที่จะนำเครื่องหมายไปใช้ จำหน่าย และให้สิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายการค้ากับบุคคลอื่นได้
  3. เพื่อป้องกันการปลอมแปลง การลอกเลียนแบบจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งใช้บังคับตามกฎหมาย
  1. เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้านั้น และมีสิทธิที่จะนำเครื่องหมายการค้าไปใช้ จำหน่าย หรืออนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้
  2. เจ้าของมีสิทธิ์ที่จะโอนหรือขายสิทธิ์เครื่องหมายการค้าของเราให้กับผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง
  3. เจ้าของมีสิทธิ์ที่จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกรณีที่มีผู้แอบอ้างนำเครื่องหมายการค้าของเราไปใช้ หรือแอบอ้างนำสินค้าของเราไปขายได้
  4. เจ้าของมีสิทธิ์ฟ้องร้องในกรณีที่มีผู้จดเครื่องหมายการค้าแบบเดียวกันและรวมถึงบุคคลที่นำเครื่องหมายการค้าไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

เครื่องหมายการค้าคือเครื่องหมายที่นำมาใช้เป็นยี่ห้อหรือแบรด์ของสินค้า ส่วนเครื่องหมายบริการนั้นนำมาใช้กับธุรกิจบริการ เช่น ชื่อร้านอาหาร ชื่อโรงแรม ชื่อสถานบริการต่างๆ ส่วนการจดทะเบียนนั้น มีขั้นตอนที่เหมือนกัน

  • ในขั้นตอนยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ใช้เวลา 1 วันหลังจากเราได้รับเอกสารครบ และเมื่อยื่นจดจะได้รับเลขที่คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในวันเดียวกัน
  • ในขั้นตอนรอตรวจพิจารณาและอนุมัติจากทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาใช้เวลา 12-14 เดือน

ไม่รวมกรณีแก้ไขคำสั่งนายทะเบียน หรือ การอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียน

เครื่องหมายการค้ามีอายุการคุ้มครอง 10 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียน และอาจต่ออายุได้ภายใน 3 เดือน ก่อนวันสิ้นอายุ หรือ ภายใน 6 เดือน นับแต่วันสิ้นอายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ได้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สามารถระบุเป็นที่อื่นได้ไม่จำเป็นต้องตรงกับบัตรประชาชน
สามารถทำได้โดยการแต่งตั้งIP-THAILAND เป็นตัวแทน ซึ่งหลังจากแต่งตั้งตัวแทนแล้ว IP-THAILANDจะคอยติดตามเรื่อง ดูแลให้จนได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

การพิจารณาความเหมือนของเครื่องหมายการค้า ดูจากลักษณะตัวอักษร และ ภาพวาด ว่ามีลักษณะที่เหมือนกันจนเกินกว่าที่ประดิษฐ์ขึ้นเองโดยไม่ได้เลียนแบบ กล่าวคือ เหมือนมากจน ดูออกว่าไม่ได้คิดเองแม้แต่น้อย

การพิจารณาความคล้ายของเครื่องหมายการค้า ต้องดูวาความคล้ายกันถึงขนาดทำให้ คนทั่วไปสับสน หรือ หลงผิด ในความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า กล่าวคือ ทำให้คนทั่วไป หลงคิดว่า เป็นเครื่องหมายการค้าของเจ้าของเดียวกันหรือเปล่า หรือ ทำให้เข้าใจว่าเป็นแบรนด์สินค้าย่อยของเครื่องหมายการค้า

สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในเครื่องหมายการค้าและ สิทธิในการอนุญาติให้ใช้เครื่องหมายการค้าในประเทศนั้นๆ
  1. เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว
  2. เครื่องหมายการค้าขัดต่อกฎหมาย
โดยปกติ การพิจารณาเครื่องหมายการค้าจะใช้เวลาประมาณ 12-14เดือน นายทะเบียนจึงจะอนุมัติให้รับจดทะเบียนได้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย กฎหมายคุ้มครองแค่ภายในประเทศไทย ถ้าต้องการให้คุ้มครองไปยังต่างประเทศ ต้องดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศนั้นๆ ซึ่งทางIP-THAILANDสามารถช่วยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ทุกประเทศทั่วโลก
กฎหมายเครื่องหมายการค้าาเป็นกฎหมายภายในประเทศ โดยให้อำนาจแต่ละประเทศกำหนดสิทธิขอบเขตของการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในประเทศตนเอง ดังนั้นหากบุคคลใด ต้องการได้รับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าของตน ในประเทศใดก็ตาม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศนั้น
เครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญานั้น สามารถมานำมาใช้ได้ แต่หากบุคคลอื่นลอกเลียนแบบของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว เราก็ไม่อาจฟ้องร้องตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าได้ นอกจากนี้หากบุคคลอื่นนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียน เราอาจจะโดนฟ้องละเมิดเครื่องหมายการค้าเสียเอง
ตัวสินค้า หรือบริการที่ผู้ประกอบประสงค์จะนำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้เป็น ยี่ห้อแบรด์ หรือชื่อสถานบริการ เช่น สบู่ แชมพู ครีบอาบน้ำ เสื้อยืด กางเกง บริการร้านอาหาร บริการร้านคาราโอเกะ บริการร้านซักรีด เป็นต้น โดย ผู้ประกอบการจะต้องระบุรายการสินค้าเป็น ข้อเพื่อยื่นประกอบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ไม่สามารถเปลี่ยนรูปเครื่องหมายการค้า(โลโก้)ได้ เพราะถือว่ารูปเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้า ยกเว้นกรณีที่มีคำสั่งจากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก้ไขรูปเครื่องหมายการค้าในกรณีที่รูปไม่ชัด สามารถทำได้
ทำได้ โดยการโอนเครื่องหมายการค้าจากบุคคลเป็นของบริษัท โดยใช้แบบสัญญาโอนเครื่องหมายการค้า และชำระค่าธรรมเนียมในการโอนเครื่องหมายการค้า

การแสดงเจตนาว่าจะไม่ใช้สิทธินั้นแค่คนเดียว กล่าวคือการสละสิทธินี้ ทำให้บุคคลอื่นๆ สามารถใช้สิทธิ ประโยชน์ได้เหมือนกัน ไม่ได้จำกัดแค่คนเดียว

ในทางกฎหมายพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า การสละสิทธิ คือ

การแสดงเจตนาว่าจะไม่ขอถือสิทธิที่จะใช้คำ ข้อความ สี หรือรูปภาพ นั้นแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น บุคคลอื่นย่อมสามารถใช้คำ ข้อความ สี หรือ รูปภาพได้เช่นเดียวกัน

เมื่อเครื่องหมายการค้าซึ่งยื่นจดทะเบียนต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้วสามารถขอยื่นคัดค้านได้ ดังนี้

บุคคลใดเห็นว่าตนมีสิทธิดีกว่าผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น หรือ
เห็นว่าเครื่องหมายการค้ารายนั้นไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ หรือ
การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
โดยสามารถจะยื่นเอกสารคำคัดค้านต่อนายทะเบียนกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ ทั้งนี้ต้องยื่นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่เครื่องหมายการค้าซึ่งต้องการคัดค้านนั้นได้รับการประกาศโฆษณา

  • สัญลักษณ์ ® และ TM. สามารถใส่ไว้ในรูปเครื่องหมายการค้าได้หรือไม่
  • สัญลักษณ์ ® สามารถใส่ได้ในรูปเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วเท่านั้น
  • สัญลักษณ์ TM. สามารถใส่ได้ในรูปเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้วและที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เมื่อจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้วจะมีอายุการคุ้มครอง 10 ปี นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และสามารถต่ออายุได้ทุก ๆ 10 ปี หากไม่ต่ออายุภายในเวลาที่กำหนด เครื่องหมายการค้าก็จะถูกเพิกถอนตามกฎหมาย